- ข้อ 1 สนาม (The Court)


ตาข่ายต้องขึงเต็มปิดช่องระหว่างเสาทั้งต้นให้หมด ตาข่ายต้องมีตาขนาดเล็กพอที่จะไม่ให้ลูกเทนนิสลอดได้ ตรงจุดกึ่งกลางของตาข่ายต้องสูงจากพื้น 3 ฟุต (0.91 เมตร) และต้องมีแถบขึงตาข่าย (Strap) สีขาวกว้างไม่เกิน 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) ยึดไว้กับพื้น แต่ละด้านของตาข่ายต้องมีแถบหุ้มตาข่าย (Band) สีขาวหุ้มเชือกขึงตาข่ายและขอบบนของตาข่าย แถบนี้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และต้องไม่มากกว่า 2 1/2 นิ้ว (6.3 เซนติเมตร)ต้องไม่มีโฆษณาใดๆ บนตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือไม้ค้ำตาข่าย



ข้อ 2 สิ่งติดตั้งถาวร (Permanent Fixtures)


ข้อ 3 ลูกเทนนิส (The Ball)



ข้อ 4 ไม้เทนนิส (The Racket)





กรณีศึกษา
ปัญหาที่ 1 : ไม้เทนนิสอันหนึ่งจะขึงเอ็นมากกว่าหนึ่งชุดได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ตามกติกาได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่า การขึงเอ็นไม้เทนนิสอย่างไรจึงจะถูกต้อง และอย่างไรไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ 2 : การขึงเอ็นไม้เทนนิสจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าระดับของเอ็นที่ขึงสูงต่ำไม่เท่ากัน
ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ 3 นักเทนนิสสามารถใช้ชิ้นส่วนกันสะเทือนติดบนเอ็นของไม้เทนนิสได้หรือไม่ถ้าได้จะต้องติดตรงไหน
ข้อชี้ขาด : ติดได้ แต่ต้องติดไว้นอกเส้นที่ไขว้กันของเอ็นเท่านั้น
ปัญหาที่ 4 : ขณะแข่งขัน เอ็นไม้เทนนิสของนักกีฬาขาดนักกีฬาสามารถเล่นต่อไปได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้
ข้อ 5 ผู้เสิร์ฟและผู้รับ (Server & Receiver)

ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นขณะพยายามตีลูก หากล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไปจะเสียแต้มหรือไม่
(1) ก่อนตีถูกลูก
(2) หลังตีถูกลูกแล้ว
ข้อชี้ขาด : ไม่เสียแต้มทั้งสองกรณี เว้นแต่ผู้นั้นจะล้ำเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้ (กติกา ข้อ 20 (5)) ในกรณีที่เกิดการขัดขวางใดๆขึ้น คู่ต่อสู้ของผู้นั้นอาจจะขอคำตัดสินจากผู้ตัดสินได้ตามกติกาข้อ 21 และข้อ 25
ปัญหาที่ 2 : ผู้เสิร์ฟอ้างว่าผู้รับจะต้องยืนอยู่ภายในเส้นขอบของสนามถูกต้องหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกต้อง ผู้รับจะยืนอยู่ที่ใดในด้านของตนก็ได้ตามใจชอบ
ข้อ 6 การเลือกแดนและเลือกเสิร์ฟ (Choice of Ends & Service)
การเลือกแดนก็ดี การเลือกสิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับในเกมแรกก็ดี ให้ชี้ขาดด้วยการเสี่ยง (Toss) ผู้เล่นที่ชนะในการเสี่ยงจะมีสิทธิ์เลือกหรือขอร้องให้คู่ต่อสู้เลือก
(1) สิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ ในกรณีที่ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้เลือกแดนหรือ
(2) เลือกแดน ในกรณีนี้ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์ที่จะเลือกเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ
ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นมีสิทธิ์เล่นใหม่หรือไม่ ถ้ามีการเลื่อนการแข่งขันหรือหยุดการแข่งขัน
ข้อชี้ขาด : มีสิทธิ์ ถือว่าการเสี่ยงทายเดิมใช้ได้ แต่การเลือกอาจจะเปลี่ยนเป็นเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดนใหม่
ข้อ 7 การเสิร์ฟ (The Service)
การเสิร์ฟจะต้องกระทำดังนี้ คือ ก่อนเสิร์ฟผู้เสิร์ฟต้องยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างหลังเส้นหลัง (คือให้เส้นหลังอยู่ระหว่างตาข่ายกับผู้เสิร์ฟ) และยืนอยู่ระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center-Mark) และเส้นข้าง ต่อจากนั้นให้ผู้เสิร์ฟใช้มือโยนลูกขึ้นไปในอากาศในทิศทางใดก็ได้แล้วใช้ไม้เทนนิสตีลูกนั้นก่อนตกถึงพื้น เมื่อไม้เทนนิสสัมผัสลูกก็ถือว่าการเสิร์ฟครั้งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าผู้เล่นมีแขนข้างเดียวจะใช้ไม้เทนนิสช่วยโยนลูกในการเสิร์ฟก็ได้
ปัญหาที่ 1 : ในการเล่นเดี่ยว ผู้เสิร์ฟจะยืนหลังเส้นหลังในแนวที่อยู่ระหว่างเส้นข้างของสนามประเภทเดี่ยวกับเส้นข้างของสนามประเภทคู่ได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้
ปัญหาที่ 2 : ผู้เล่นขณะทำการเสิร์ฟ โยนลูกขึ้นไป 2 ลูก หรือมากกว่า แทนที่จะโยนลูกเดียว จะถือว่าผู้นั้นเสิร์ฟเสียหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ถือว่าเสีย ผู้ตัดสินควรขาน "เล็ท" แต่ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ อาจจะถือปฏิบัติตามกติกาข้อ 21 ก็ได้
ข้อ 8 ฟุทฟอลท์ (Foot Fault)
(1) ตลอดการเสิร์ฟผู้เสิร์ฟจะต้อง
- ไม่เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง ผู้เสิร์ฟที่เคลื่อนที่เท้าเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้เท้าเคลื่อนจากจุดเดิม จะไม่ถือว่า "เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง"
- ไม่สัมผัสที่พื้นส่วนใดนอกจากพื้นที่อยู่หลังเส้นในระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center mark) และเส้นข้าง
(2) คำว่า "เท้า" หมายถึงส่วนของปลายขานับตั้งแต่ข้อเท้าลงไป
ข้อ 9 วิธีการเสิร์ฟ (Delivery lf Service)
(1) ในการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องยืนหลังสนามด้านขวาและซ้ายสลับกันไป เริ่มจากด้านขวาก่อนทุกเกม ถ้ามีการเสิร์ฟผิดด้านโดยไม่มีผู้ทักท้วง แต้มและการเสิร์ฟที่ผ่านไปคงใช้ได้ทั้งหมดแต่เมื่อพบข้อผิดพลาดให้เปลี่ยนไปเสิร์ฟในด้านที่ถูกต้อง
ทันที
(2) ลูกที่เสิร์ฟจะต้องข้ามตาข่ายไปสัมผัสพื้นสนามภายในคอร์ตเสิร์ฟซึ่งอยู่ทแยงกันหรือบนเส้นใดเส้นหนึ่งที่ล้อมรอบคอร์ตเสิร์ฟนั้น ก่อนผู้รับจะตีโต้ลูกกลับ
ข้อ 10 ลูกเสิร์ฟเสีย (Service Fault)
การเสิร์ฟที่ถือว่าเสียคือ
(1) ถ้าผู้เสิร์ฟทำผิดกติกาข้อ 7.8 หรือ 9
(2) ถ้าผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนาแต่ไม่ถูก
(3) ถ้าลูกที่เสิร์ฟไปนั้นสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรอย่างใด (นอกจากตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย) ก่อนสัมผัสพื้น
ปัญหาที่ 1 : หลังจากโยนลูกเพื่อเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟเปลี่ยนใจไม่ตีลูก แต่ใช้มือรับลูกจะถือว่าลูกนั้นเสียหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่เสีย
ปัญหาที่ 2 : ในการเล่นเดี่ยวที่ใช้สนามประเภทคู่ โดยมีเสาขึงตาข่ายอยู่ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ หากเสิร์ฟลูกไปกระทบเสาขึงตาข่ายประเภทเดี่ยวและตกลงในสนามที่ถูกต้องลูกนี้จะถือว่าเสียหรือเล็ท
ข้อชี้ขาด : ถือว่าเสีย เพราะเสาขึงตาข่ายทั้งประเภทเดี่ยวและคู่รวมทั้งตาข่าย และแถบหุ้มตาข่ายที่อยู่ระหว่างเสาทั้งสองถือเป็นสิ่งติดตั้งถาวร (ตามกติกาข้อ 2 ข้อ 10 และหมายเหตุท้าย กติการข้อ 24)
ข้อ 11 การเสิร์ฟลูกที่สอง (Second Service)
เมื่อเสิร์ฟลูกแรกเสีย ผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากหลังสนามด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไปแล้ว ถ้าลูกแรกที่เสิร์ฟเสียนั้นผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟใหม่อีกลูกเดียวจากหลังอีกด้านหนึ่งตามกติกาข้อ 9
ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นยืนผิดด้าน เสิร์ฟลูกจนเสียแต้มไปแล้วจะอ้างว่าเขาเสิร์ฟเสียเพราะยืนผิดด้านได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ แต้มต้องเป็นไปตามที่เล่นไปแล้ว สำหรับการเสิร์ฟลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านที่ถูกต้องตามแต้มที่เล่นเสร็จไปแล้ว
ปัญหาที่ 2 : ขณะแต้ม 15 เท่ากัน ผู้เสิร์ฟจากสนามด้านซ้ายแล้วได้แต้มนั้นต่อมาเขาเสิร์ฟจากด้านขวาและเสียไปหนึ่งลูกแล้วจึงรู้ว่าเสิร์ฟผิดด้าน ผู้เสิร์ฟนั้นจะได้แต้มที่ได้ไปแล้วหรือไม่ และลูกต่อไปจะต้องเสิร์ฟจากด้านใด
ข้อชี้ขาด : แต้มที่ได้นั้นถือว่าชอบแล้ว ลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านซ้ายตามแต้มที่ได้ คือ 30-15 และผู้เสิร์ฟเสียไปแล้วหนึ่งลูก
ข้อ 12 โอกาสที่จะเสิร์ฟ (When to Serve)
ผู้เสิร์ฟจะเสิร์ฟไม่ได้จนกว่าผู้รับพร้อมที่จะรับ หากผู้รับได้พยายามรับลูกต้องถือว่าผู้รับพร้อมที่จะรับลูกแล้ว ถ้าผู้รับแสดงท่าทางว่าตนยังไม่พร้อมที่จะรับลูกผู้รับจะอ้างว่าลูกเสิร์ฟนั้นเสียไม่ได้หากว่าลูกเสิร์ฟนั้นมิได้สัมผัสพื้นสนามที่ถูกต้อง
ข้อ 13 การขานเล็ท (The Let)
ทุกกรณีที่ขานคำว่า "เล็ท" ตามกติกานี้ หรือขานเพื่อหยุดยั้งการเล่นครั้งใดก็ตามให้ตีความหมายดังนี้
(1) เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกนั้นใหม่
(2) เมื่อขานขึ้นในกรณีอื่นๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่
ปัญหาที่ 1 : ถ้าการเสิร์ฟมีสิ่งขัดขวางเกิดขึ้น นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกติการข้อ 14 ควรให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่หรืออย่างไร
ข้อชี้ขาด : ไม่ใช่ ต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด
ปัญหาที่ 2 : ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นเกิดแตกขึ้น ควรขานเล็ทหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ควร
ข้อ 14 การขานเล็ทในขณะเสิร์ฟ (The "Let" in Service)
การเสิร์ฟที่ถือว่าเล็ท คือ
(1) เมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วตกในสนามที่ถูกต้อง หรือเมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายแล้วสัมผัสร่างกายผู้รับ หรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนลูกนั้นสัมผัสพื้น
(2) เมื่อได้เสิร์ฟไปในขณะผู้รับไม่พร้อมที่จะรับ ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟที่ดีหรือเสียก็ตาม (ดูกติกาข้อ 12)
เมื่อมีการเสิร์ฟเป็นเล็ท ไม่มีฝ่ายใดได้แต้ม และผู้เสิร์ฟต้องเสิร์ฟลูกนั้นใหม่ การเสิร์ฟที่เป็นเล็ทไม่ทำให้การเสิร์ฟที่เสียไปในลูกแรกกลัยเป็นลูกดีได้
ข้อ 15 ลำดับการเสิร์ฟ (Order of Service)
เมื่อจบเกมแรก ผู้รับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้เสิร์ฟ และผู้เสิร์ฟต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับ สลับกันเรื่อยไปจนกว่าจะจบการแข่งขัน (Match) ถ้าผู้เล่นคนใดเสิร์ฟผิดรอบ ผู้เล่นที่ควรจะเป็นผู้เสิร์ฟจะต้องเป็นผู้เสิร์ฟต่อไปทันทีที่ได้พบข้อผิดพลาด แต้มที่เล่นไปแล้วก่อนได้พบข้อผิดพลาดคงนับด้วยถ้าเกมนั้นจบลงก่อนได้พบข้อผิดพลาด ลำดับการเสิร์ฟเกมต่อๆไปให้เป็นไปตามที่ผิดพลาดไปแล้วนั้นแต่ลูกที่ผู้เสิร์ฟผิดรอบเสิร์ฟเสียไปหนึ่งลูกซึ่งเกิดขึ้นก่อนได้พบข้อผิดพลาดไม่ต้องนับ
ข้อ 16 การเปลี่ยนข้าง (When Players Change Ends)
ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่หนึ่ง เกมที่สอง และทุกๆเกมคี่ของแต่ละเซต (Set) และต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเซตนั้นรวมกันแล้วเป็นเลขคู่ ในกรณีนี้จะไม่เปลี่ยนข้างจนกว่าจะจบเกมที่หนึ่งของเซตต่อไป ถ้าเกิดข้อผิดพลาดทำให้ลำดับการเปลี่ยนข้างไม่ถูกต้อง ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างให้ถูกต้องทันทีที่พบข้อผิดพลาดและดำเนินการต่อไปตามลำดับการเปลี่ยนข้างที่เลือกไว้แต่เดิม
ข้อ 17 ลูกอยู่ในการเล่น (The Ball in Play)
นับตั้งแต่เมื่อได้ทำการเสิร์ฟไปแล้วจนการทั้งผู้เล่นได้หรือเสียแต้มถือว่าลูกนั้นอยู่ในการเล่นเว้นแต่จะมีการขานว่าเล็ทหรือเสีย
ปัญหา : ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งตีโต้ลูกไปแต่เสีย กรรมการไม่ขานว่า "เสีย" และการเล่นยังคงดำเนินต่อไป ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นหลังจากตีโต้กันจนจบแต้มนั้นแล้วได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ถ้าผู้เล่นยังเล่นต่อไปหลังจากมีลูกเสียที่เกิดขึ้นแล้วฝ่ายใดจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นไม่ได้ เว้นแต่คู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางการเล่น
ข้อ 18 ผู้เสิร์ฟได้แต้ม (Server Wins Point)
ผู้เสิร์ฟจะได้แต้มเมื่อ
(1) ลูกที่เสิร์ฟที่มิได้เป็นเล็ทดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 14 ไปสัมผัสผู้รับหรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนที่จะสัมผัสพื้น
(2) ผู้รับทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20
ข้อ 19 ผู้รับได้แต้ม (Receiver Wins Point)
ผู้รับจะได้แต้มเมื่อ
(1) ผู้เสิร์ฟเสียสองลูกติดต่อกัน
(2) ผู้เสิร์ฟทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20
ข้อ 20 ผู้เล่นเสียแต้ม (Player Loses Point)
ผู้เล่นจะเสียแต้มเมื่อ
(1) ผู้นั้นไม่สามารถตีลูกที่อยู่ในการเล่นให้ข้ามตาข่ายกลับไปก่อนที่ลูกจะสัมผัสพื้นสองครั้ง (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3)) หรือ
(2) ผู้นั้นตีลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสพื้นสิ่งติดตั้งถาวรหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอยู่นอกเส้นที่ล้อมรอบสนามของคู่ต่อสู้ (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3)) หรือ
(3) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกตกถึงพื้น (Volleys) แต่เสียแม้จะยืนอยู่นอกสนามก็ตามหรือ
(4) ผู้นั้นใช้ไม้เทนนิสสัมผัสลูกหรือตีลูกที่อยู่ในการเล่นมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือ
(5) ร่างกายหรือไม้เทนนิสของผู้นั้น (ไม่ว่าจะถืออยู่หรือหลุดจากมือแล้วก็ตาม) หรือสิ่งที่ผู้นั้นสวมหรือถืออยู่สัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามของคู่ต่อสู้ในขณะที่ลูกอยู่ในการเล่น หรือ
(6) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้น (Volleys) ก่อนลูกนั้นข้ามตาข่ายมา หรือ
(7) ลูกที่อยู่ในการเล่นสัมผัสร่างกายของผู้นั้น หรือสิ่งใดที่สวมหรือถืออยู่ เว้นแต่ไม้เทนนิสที่เขาถืออยู่ด้วยมือเดียว หรือสองมือก็ตาม หรือ
(8) ผู้นั้นขว้างไม้เทนนิสไปถูกลูก หรือ
(9) ผู้นั้นตั้งใจทำให้รูปร่างของไม้เทนนิสที่ใช้ตีอยู่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการเล่นแต้มนั้น
ปัญหาที่ 1 : ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายก่อนลูกสัมผัสสนามจะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มนั้นทั้งหมด
ข้อชี้ขาด : ผู้เสิร์ฟเสียแต้ม เพราะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่าย ขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกา ข้อ 20 (5))
ปัญหาที่ 2 : ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายหลังลูกสัมผัสพื้นนอกเขตสนามที่ถูกต้อง จะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มทั้งหมด
ข้อชี้ขาด : เสียเฉพาะลูกนั้น เพราะขณะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่ายลูกมิได้อยู่ในการเล่นแล้ว
ปัญหาที่ 3 : ก. และ ข. กำลังแข่งขันกับ ค. และ ง. ขณะ ก. เสิร์ฟไปที่ ง. ปรากฏว่า ค. สัมผัสตาข่ายก่อนลูกที่ ก. เสิร์ฟจะสัมผัสสนาม หลังจากนั้นผู้ตัดสินขานว่า "เสีย" เพราะลูกที่ ก. เสิร์ฟตกนอกคอร์ตเสิร์ฟ ดังนี้ ผ่าย ค. และ ง. จะเสียแต้มหรือไม่
ข้อชี้ขาด : การขานว่า "เสีย" นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ ค. และ ง. ได้เสียแต้มนั้นแล้ว ก่อนขานว่า "เสีย" เนื่องจาก ค. สัมผัสตาข่ายขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 20 (5)
ปัญหาที่ 4 : ขณะลูกอยู่ในการเล่น ผู้เล่นจะกระโดดข้ามตาข่ายไปในสนามของคู่ต่อสู้ได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ผู้นั้นต้องเสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5))
ปัญหาที่ 5 : ก. ตีลูกตัด ลูกวิ่งข้ามตาข่ายไปแล้วแต่ลอยย้อนกลับมาในสนามด้านของ ก. อีกดังนี้หาก ข. ไม่สามารถเอื้อมตีลูกได้ทันจึงขว้างไม้เทนนิสไปกระทบลูก ทั้งลูกและไม้เทนนิสของ ข. ข้ามตาข่ายไปตกในสนามด้าน ของ ก. ก. ตีลูกกลับไปแต่ตกนอกสนามด้านของ ข. ดังนี้ ข. จะได้แต้มหรือเสียแต้ม
ข้อชี้ขาด : ข. เป็นผู้เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5) และ (8))
ปัญหาที่ 6 : ผู้เล่นยืนอยู่นอกคอร์ตเสิร์ฟ ลูกเสิร์ฟลอยมาสัมผัสผู้เล่นนั้นก่อนสัมผัสพื้นผู้เล่นนั้นจะได้แต้มหรือเสียแต้ม
ข้อขี้ขาด : เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (7)) เว้นแต่จะเป็นไปตามกติกาข้อ 14 (1)
ปัญหาที่ 7 : ผู้เล่นยืนอยู่นอกสนาม ใช้ไม้เทนนิสตีลูกหรือใช้มือรับลูกแล้วอ้างว่าตนได้แต้มนั้นเนื่องจากลูกนั้นจะต้องตกนอกสนามอย่างแน่นอน
ข้อชี้ขาด : ผู้เล่นนั้นจะอ้างว่าตนได้แต้มไม่ได้ไม่ว่ากรณีใด
(1) ถ้าใช้มือรับลูก ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (7)
(2) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นถึงพื้นแต่เสีย ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (3)
(3) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้นและเป็นลูกดี การแข่งขันคงดำเนินต่อไป
ข้อ 21 การขัดขวางคู่ต่อสู้ (Player Hinders Opponent)
หากผู้เล่นฝ่ายใดกระทำโดยจงใจเพื่อขัดขวางมิให้คู่ต่อสู้ตีลูกถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม หากมิได้กระทำโดยจงใจ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่
ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นจะถูกลงโทษหรือไม่ ถ้าหากขณะตีลูกผู้เล่นนั้นสัมผัสตัวคู่ต่อสู้
ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกลงโทษ เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าจำเป็นต้องลงโทษตามกติกาข้อ 21
ปัญหาที่ 2 : เมื่อลูกซึ่งข้ามตาข่ายมาสัมผัสพื้นแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไปอีก ผู้เล่นที่จะต้องตีลูกนั้นสามารถเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูกนั้นได้ จะใช้กติกาข้อไหนตัดสิน ถ้าหากผู้เล่นนั้นถูกคู่ต่อสู้ขัดขวางไม่ให้ตีลูก
ข้อชี้ขาด : ใช้กติกาข้อ 21 คือ ผู้ตัดสินอาจให้ผู้เล่นที่ถูกขัดขวางได้แต้มนั้น หรืออาจสั่งให้เล่นแต้มนั้นใหม่ก็ได้ (ดูกติกาข้อ 25)
ปัญหาที่ 3 : การตีลูกสองครั้งโดยไม่เต็มใจถือว่าเป็นการกระทำเพื่อขัดขวางคู่ต่อสู้ตามกติกาข้อ 21 หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ใช่
ข้อ 22 ลูกที่ตกบนเส้น (Ball Falls on Line)
ลูกที่ตกบนเส้นใดๆก็ตามให้ถือว่าตกในสนามที่เส้นนั้นล้อมอยู่
ข้อ 23 ลูกสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวร (Ball Touches Permanent Fixtures)
ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรใดๆ (นอกจากตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย) หลังจากได้สัมผัสสนามแล้ว ผู้เล่นที่ตีลูกนั้นได้แต้ม แต่ถ้าลูกนั้นสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรดังกล่าวข้างต้นก่อนสัมผัสสนาม คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายได้แต้ม
ปัญหา : ในการตีโต้ลูก ลูกสัมผัสผู้ตัดสิน เก้าอี้หรือขาเก้าอี้ของผู้ตัดสิน ผู้เล่นจะอ้างว่า ลูกนั้นกำลังจะวิ่งไปตกในสนามได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : อ้างไม่ได้ ต้องถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม
ข้อ 24 การตีโต้ที่ดี (A Good Return)การตีโต้ที่ถือว่าดี คือ
(1) ถ้าลูกสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วข้ามสิ่งดังกล่าวไปตกในสนาม
(2) เมื่อลูกที่เสิร์ฟหรือตีโต้กลับมา ข้ามตาข่ายตกในสนามที่ถูกต้องแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไป ถ้าผู้เล่นที่ถึงรอบจะต้องตีลูกเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูก โดยมิให้ร่างกายหรือส่วนใดของเสื้อผ้าหรือไม้เทนนิสสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามด้านของคู่ต่อสู้ และลูกนั้นเป็นลูกดี หรือ
(3) ถ้าลูกวิ่งอ้อมนอกเสาหรือไม้ค้ำตาข่าย ไม่ว่าจะวิ่งระดับสูงหรือต่ำกว่าตาข่ายหรือแม้จะสัมผัสเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายแล้วไปสัมผัสสนามที่ถูกต้อง หรือ
(4) ถ้าไม้เทนนิสของผู้เล่นข้ามตาข่ายไปหลังจากตีลูกกลับไปแล้วแต่ต้องมิใช่ตีลูกก่อนข้ามตาข่ายเข้ามาในสนามด้ายของตน และเป็นการตีโต้ที่ดี หรือ
(5) ถ้าลูกที่ตีโต้ไปแล้วหรือเสิร์ฟไปแล้วกระทบลูกอื่นซึ่งอยู่ภายในสนาม

ลูกที่ตีโต้กัน หากวิ่งลอดเชือกที่ขึงตาข่าย (Net Cord) ระหว่างไม้ค้ำตาข่ายและเสา โดยมิได้สัมผัสเชือกขึงตาข่าย ตาข่าย หรือเสา แล้วตกในสนามถือว่าเป็นลูกดี
ปัญหาที่ 1 : ลูกซึ่งกำลังจะวิ่งออกไปนอกสนามแต่ชนเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายและตกลงในสนามของคู่ต่อสู้ จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ถ้าเป็นลูกเสิร์ฟถือว่าเป็นลูกเสีย ตามกติกาข้อ 10 (3) ถ้าเป็นลูกอื่นนอกจากเสิร์ฟถือว่าดี (ตามกติกาข้อ 24 (1))
ปัญหาที่ 2 : จะถือว่าลูกที่ตีโต้กลับไปเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าผู้นั้นจับไม้เทนนิสสองมือในการตีลูก
ข้อชี้ขาด : ถือเป็นลูกดี
ปัญหาที่ 3 : ถ้าลูกเสิร์ฟหรือลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกที่อยู่ในสนามจะถือว่าได้เสียแต้มเลยหรือไม่
ข้อชี้ขาด อยังไม่ได้หรือเสียแต้ม การแข่งขันต้องดำเนินต่อไป หากผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่าลูกที่ตีโต้กันอยู่นั้นจะเป็นลูกที่ถูกต้อง ก็ควรขานเล็ท
ปัญหาที่ 4 : ในระหว่างการเล่น ผู้เล่นจะใช้ไม้เทนนิสมากว่าหนึ่งอันได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ กติกาที่มีอยู่ทั้งหมดนี้หมายถึงการใช้ไม้เทนนิสอันเดียวเท่านั้น
ปัญหาที่ 5 : ผู้เล่นจะขอให้เอาลูกที่ตกอยู่ในสนามของคู่ต่อสู้ออกไปก่อนได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้ แต่ต้องไม่ใช้ขณะลูกอยู่ในการเล่น
ข้อ 25 ผู้เล่นถูกขัดขวาง (Hindrance of a Player)
ในระหว่างการตีลูก ถ้าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสิ่งใดซึ่งพ้นวิสัยที่เขาจะแก้ไขได้เว้นแต่สิ่งติดตั้งถาวรหรือเว้นแต่สิ่งซึ่งระบุไว้ในกติกาข้อ 21 ให้ขาน "เล็ท"
ปัญหาที่ 1 : ถ้าผู้ดูเข้ามาขัดขวาง ทำให้ผู้เล่นไม่อาจตีโต้ลูก ผู้เล่นจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสภาพที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของผู้เล่น แต่ต้องไม่ใช่เนื่องจากสิ่งติดตั้งถาวรหรือเครื่องประดับของสนาม
ปัญหาที่ 2 : ผู้เล่นถูกขัดขวางเช่นเดียวกับปัญหาที่ 1 และผู้ตัดสินขานว่าเล็ทแล้ว ถ้าผู้เสิร์ฟได้เสิร์ฟลูกแล้วหนึ่งลูกก่อนขานเล็ท ผู้เสิร์ฟมีสิทธิ์เสิร์ฟใหม่สอง ลูกหรือไม่
ข้อชี้ขาด : มีสิทธิ์ เพราะลูกกำลังอยู่ในการเล่นซึ่งตามกติกาจะต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมดไม่ใช่เล่นใหม่เฉพาะลูกเดียว
ปัญหาที่ 3 : ผู้เล่นจะขอให้เล่นแต้มนั้นใหม่ตามกติกาข้อ 25 เนื่องจากผู้เล่นคิดว่าคู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางไม่ให้เล่นลูก และผู้เล่นลูก และผู้เล่นไม่คิดว่าลูกนั้นจะถูกตีโต้กลับมา จะได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้
ปัญหาที่ 4 : จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่ หากลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกอีกลูกหนึ่งในอากาศ
ข้อชี้ขาด : ควรขานเล็ท เว้นเสียแต่ลูกที่อยู่ในอากาศนั้นเกิดจากการกระทำของผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ผู้ตัดสินจะชี้ขาดตามกติกาข้อ 21
ปัญหาที่ 5 : ถ้าผู้ตัดสินหรือกรรมการอื่นขานผิดพลาดว่า "เสีย" (Fault) หรือ "ออก" (Out) แล้วขานใหม่เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองเช่นนี้จะถือว่าการขานครั้งใดถูต้อง
ข้อชี้ขาด : ผู้ตัดสินจะต้องขานเล็ท เว้นแต่จะเห็นว่าไม่มีฝ่ายใดถูกขัดขวางการเล่นเนื่องมาจากการขานดังกล่าวนั้น ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าการขานที่แก้ไขใหม่นั้นถูกต้อง
ปัญหาที่ 6 : ถ้าลูที่เสิร์ฟเสียไปในการเสิร์ฟลูกแรกกระดอนขึ้นมาขัดขวางผู้รับในขณะรับลูกเสิร์ฟลูกที่สอง ผู้รับจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้ แต่ถ้าผู้รับโอกาสที่จะเอาลูกที่เสิร์ฟเสียลูกแรกออกไปให้พ้นสนามได้แต่ เพิกเฉยไม่ทำ ผู้รับจะขอให้ขานเล็ทไม่ได้
ปัญหาที่ 7 : ลูกที่ตีโต้กันอยู่จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าลูกนั้นไปสัมผัสวัตถุใดที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวอยู่ในสนาม
ข้อชี้ขาด : หากวัตถุที่อยู่กับที่นั้นเข้ามาภายในสนามหลังที่เริ่มเล่นลูกไปแล้ว ต้องขานเล็ท แต่ถ้าวัตถุอยู่กับที่นั้นเข้ามาในสนามก่อนเริ่มเล่นลูกต้องถือว่าลูกนั้นเป็นลูกดี แต่ถ้าลูกที่อยู่ในระหว่างการเล่นไปกระทบวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวบนสนามหรือเหนือพื้นสนาม จะต้องขานเล็ท
ปัญหาที่ 8 : ถ้าหากลูกเสิร์ฟลูกแรกเสีย ลูกเสิร์ฟลูกที่สองดี แล้วเกิดความจำเป็นต้องขานเล็ท ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีจะเป็นไปตามกติกาข้อ 25 หรือกรณีที่ผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินว่าแต้มนั้นเป็นของใครก็ดีจะใช้กติกาข้อไหนตัดสิน
ข้อชี้ขาด : จะต้องยกเลิกลูกเสิร์ฟที่เสียไปแล้ว และเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด
ข้อ 26 วิธีนับแต้มในแต่ละเกม (Score in a Game)
- ถ้าผู้เล่นคนใดได้แต้มแรก ให้ขานแต้มว่า 15 สำหรับผู้เล่นนั้น เมื่อเขาได้แต้มที่สองให้ขานแต้มว่า 30 สำหรับผู้เล่นนั้นเมื่อเขาได้แต้มที่สามให้ขานแต้มว่า 40 สำหรับผู้เล่นนั้น และถ้าเขาได้แต้มที่สี่ ก็ถือว่าผู้นั้นชนะในเกมนั้น ทั้งนี้เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
- ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้แต้มสามแต้มเท่ากันให้ขานแต้มว่าดิวซ์ (Deuce) ถ้าผู้เล่นฝ่ายใดได้แต้มต่อไปให้ขานแต้มว่าได้เปรียบ (Advantage) สำหรับผู้เล่นนั้นถ้าผู้เล่นคนเดียวกันนั้นได้แต้มต่อไปอีกหนึ่งแต้ม ผู้เล่นคนนั้นชนะในเกมนั้น แต่ถ้าผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งกลับเป็นผู้ได้แต้มต่อจากแต้มได้เปรียบให้ขานแต้มเป็นดิวซ์อีก และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกระทั่งผู้เล่นคนใดคนหนึ่งได้สองแต้มติดต่อกันหลังจากดิวซ์แล้ว จึงถือว่าผู้เล่นคนนั้นเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
- ที่มาของเนื้อหา http://www.educatepark.com/story/tennis.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น